หน้าแรก / บล็อก / ความรู้เกี่ยวกับล้อแม็กซ์ (ล้ออัลลอยด์) / สิ่งที่คุณไม่รู้เกี่ยวกับครัทช์ lenso wheel จะพาคุณเจาะลึกว่าควรเลือกครัทช์ยังไงให้เหมาะสมกับเราใช้ จะรู้ได้ไงเมื่อครัทช์หมดสภาพ




สิ่งที่คุณไม่รู้เกี่ยวกับครัทช์ lenso wheel จะพาคุณเจาะลึกว่าควรเลือกครัทช์ยังไงให้เหมาะสมกับเราใช้ จะรู้ได้ไงเมื่อครัทช์หมดสภาพ
14 Oct 2019


ย้อนกลับ


วันนี้เราจะพูดถึงสายซิ่ง รถที่ขับสนุกๆ มันส์ทุกครั้งที่ขับคงหนีไม่พ้นรถเกียร์ธรรมดา แต่พูดถึงเกียร์ธรรมดาแล้วสิ่งที่จะจับแรงม้า ที่เราปรับแต่งเข้าไปได้นั้นคงหนีไม่พ้นเรื่องครัทช์ ครัทช์เดิมโรงงานถูกออกแบบมารับแรงม้าแรงบิดตามกำลังเครื่อง ที่โรงงานออกแบบมา แต่พอเราปรับแต่งเครื่องยนต์ไปแล้วครัทช์เดิมคงไม่เหมาะสมกับรถเราอีกต่อไป ถ้าเรายังฝืนใส่ครัทช์เดิมกับแรงม้าแรงบิดที่เพิ่มขึ้น ก็คงไม่ดีต่อหลายๆส่วนของรถเราแน่และที่สำคัญรถคันที่ขับสนุก มันส์ทุกครั้งที่ขับ คงกลายเป็นรถที่หงุดหงิดใจทุกครั้งที่ขับ วันนี้เราจะพาคุณไปเจาะลึกเรื่องครัทช์ จากแบรนด์ดังแดนปลาดิบอย่าง ORC

ครัทช์มีตั้งหลายยี่ห้อทำไมเราต้องเลือกพูดถึงครัทช์ ORC

ORC คือชื่อย่อของ โอกูระเรซซิ่งคลัทช์ หนึ่งในผู้ผลิตคลัทช์รายใหญ่ที่สุดของโลกโดยในทุกปีจะมีการผลิตชุดคลัทช์ORC ถูกใช้อย่างแพร่หลายในสนามแข่งทั่วโลกโดยเฉพาะในรายการAll Japan GT Championship (JGTC) ซึ่งเป็นรายการแข่งขันชั้นระดับสูงสุดในประเทศญี่ปุ่นอย่างที่เรากล่าวไปข้างต้นครัทช์เราเลือกมาใส่รถเพราะเราต้องการจับแรงม้ารถที่เพิ่มมากขึ้นแต่เมื่อครัทช์จับแรงม้าได้มากขึ้นแล้วครัทช์ส่วนใหญ่จะมาพล้อมกับความแข็งของครัทช์ที่เพิ่มมากขึ้น พูดง่ายๆว่าขับแล้วเมื่อยเท้านั้นเอง พอครัชแข็งแล้วอาการที่ตามมาอีกคือขับไม่นุ่ม มีอาการรถกระเด้าเกิดขึ้น

หลายคนอาจเกิดคำถามว่าปั้มครัชมีส่วนเกี่ยวที่ทำให้ครัทช์แข็งหรือไม่?

เราตอบเลยว่ามีส่วนแต่ไม่มากหลักๆคือการออกแบบครัทช์และผ้าครัทช์ ORC เป็นครัทช์ที่มีจุดเด่นพิเศษในเรื่องการออกแบบ และผลิตในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้นทำให้เราไม่ต้องห่วงเรื่องมาตรฐานการผลิตว่าจะขาดคุณภาพหรือไม่

แล้วเราควรจะเลือกครัชแบบไหนที่เหมาะกับรถเรา?

อยู่ที่ตัวเราต้องตอบตัวเองได้ก่อนว่าจะเอาไปใช้งานแบบไหน เช่น ใช้ในชีวิตประจำวัน นำไปแข่งขัน DIRFT หรือ DRAG ยกตัวอย่าง เราใช้งานแบบ STREET USE ไม่ได้ใช้ในการแข่งขัน วัสดุก็จะเป็นทองแดงหรือไฟเบอร์ จนถึงไป คาร์บอนไฟเบอร์ ก้ได้อยู่ที่ลักษณะการใช้งาน ถ้าคุณต้องการใช้งานในลักษณะกระชากออกตัวเป็นประจำหรือเรียกภาษาชาวบ้านว่าจอดออก วัสดุที่เหมาะกับคุณก็จะเป็นเหล็ก

สิ่งหนึ่งที่คนไม่รู้เกี่ยวกับครัทช์คือ!!!

อายุการใช้งานของครัทช์จริงๆ 40,000กิโลเมตร หรือ ปี ควรจะเช็คหนึ่งครั้ง ส่วนใหญ่ที่เราดูกันเป็นหลักก่อนจะเปลี่ยนครัทช์คือความหนาของผ้าครัทช์หรือความรู้สึกเมื่อขับขี่ สิ่งเหล่านั้นเป็นส่วนที่สึกหรอตามลักษณะการขับขี่ของแต่ละบุคคล แต่จุดที่เสื่อมสภาพจากการใช้งานโดยตรงคือหวีครัทช์ เช่นเราเหยีบครัทช์ไป 500 ครั้งหวีจะเสื่อมสภาพประมาน 30%

ครัชท์ถึงมีข้อจำกัดว่าควร overhaul ได้แค่ครั้งเดียว หรือไม่เกิน2ครั้ง เพราะจุดหลักๆเลยคือหวีมันหมดสภาพ ส่วนใหญ่วีธีแก้ปัญหาที่ผิดคือไปเข้าโรงกลึงปาดหน้าครัทช์ให้เรียบ แต่ความจริงแล้วครัทช์เราไม่สามารถมองเห็นการเสื่อมสภาพได้ด้วยตาเปล่าว่ามันร้าวไหม สิ่งที่ดูได้จริงเลยคือไฟ black light แล้วมันจะเห็นเลยว่า หวี ร้าวflywheelร้าวไหม หลังจากนั้นเราถึงจะประเมิณได้ว่าควรใช้ต่อไปไหม

จุดสำคัญหลังการ overhaul ครัทช์ทุกครั้งจำเป็นต้องเปลี่ยนน็อตทุกครั้ง เพราะเราไม่สามารถดูได้ว่าน็อตร้าวไหมกับการที่เรายังฝืนใช้น็อตชุดเก่าอยู่ มันไม่คุ้มเลยถ้ามันหักหรือแตกไปหนึ่งตัว มันส่งผลต่อเกียร์ต่อชุดครัทช์มหาศาล

สำหรับใครที่กำลังมองหาครัช ORC สามารถติดต่อสอบถามได้ทางForever Shop หรือ โทรคุณเอก 081-151-1545

 

เรียบเรียงโดย : ดิศกุล หล้าสวัสดิ์ 


ป้ายกำกับ :